วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551

สรุปบทที่ 6-7-8

บทที่6

Domain Name System
เป็นกลไกที่ทำให้สามารถใช้แอดเดรสที่เป็นชื่อในการอ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์หรือติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องใช้แอดเดรสที่เป็นตัวเลข โครงสร้างชื่อของ Domain Name System เป็นระบบแบบลำดับชั้น (hierachical structure) กล่าวคือระบบนี้ทำการแบ่งคอมพิวเตอร์ออกเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มเรียกว่าโดเมน(Domain) ในแต่ละโดเมนก็แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้หรือที่เรียกว่า sub domain และในแต่ละกลุ่มย่อยก็สามารถแบ่งต่อออกไปเป็นกลุ่มย่อยได้อีกจนกว่าจะพอใจ
ระบบการตั้งชื่อโดเมน (Domain Name System: DNS) เป็นระบบที่ใช้เก็บข้อมูลของชื่อโดเมน (โดเมนเนม) ซึ่งใช้ในเครือข่ายขนาดใหญ่อย่างอินเทอร์เน็ต โดยข้อมูลที่เก็บมีหลายอย่าง แต่สิ่งสำคัญคือความสัมพันธ์ระหว่างชื่อโดเมนนั้นๆ กับหมายเลขไอพีที่ใช้งานอยู่ ประโยชน์ที่สำคัญของ DNS คือช่วยแปลงหมายเลขไอพีซึ่งเป็นชุดตัวเลขที่จดจำได้ยาก (เช่น 207.142.131.206) มาเป็นชื่อที่สามารถจดจำได้ง่ายแทน (เช่น wikipedia.org)

Dynamic Host Configuration Protocol (DHCP) หรือ (DHCPv6) เป็นโปรโตคอล
ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบแม่ข่าย-ลูกข่าย โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายจะทำการร้องขอข้อมูลที่จำเป็น ในการเข้าร่วมเครือข่ายจากแม่ข่าย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้รวมถึงหมายเลขไอพีที่ใช้ภายในเครือข่าย ซึ่งคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเป็นฝ่ายกำหนดให้กับลูกข่าย

LDAP เป็น Protocol ที่พัฒนามาจาก Protocol X.500 ซึ่งใช้ในการเข้าถึงและ Update ข้อมูลของ Directory ซึ่งDirectory ในทาง Computer ที่จริงก็อาจเรียกได้ว่าเป็น Database แบบพิเศษหรือ Data repositoryLDAP ก็คือหนึ่งในมาตรฐานที่ใช้จัดการ การรับส่งข้อมูลระหว่าง Application Server ที่เก็บ Directory เหล่านี้ กับ Client Application ที่เป็นฝ่ายเรียกดูข้อมูลจาก Directory โครงสร้างของ LDAP ประกอบด้วย Server และ Client ซึ่งในที่นี้เราเลือกใช้ Product ของ
OpenLDAP ซึ่งเป็น LDAP Implementation แบบ Open Source ที่ได้รับความนิยมสูง โดยในชุดที่แจกจ่ายให้ Download
LDAP ได้รับการออกแบบมาให้อยู่บน TCP/IP Layer ที่มีเพียง 4 Layer ทำให้มีความต้องการ Resource น้อยกว่า DAP ของมาตรฐาน X.500




บทที่7
อีเมล์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เริ่มใช้งานกันมานานแล้ว โดยไอบีเอ็มได้พัฒนาระบบอีเมล์ที่เรียกว่า PROFS ออกมาใช้งาน การทำงานของอีเมล์มีเพียง 2 ประเภท คือ การส่งอีเมล์ และการับอีเมล์ โดยใช้โปรโตคอล SMTP และ Simple Mail Transfer Protocol จะใช้อยู่ขณะที่ User agent ส่งอีเมล์มา
การรับส่งอีเมล์ทำได้ 3 วิธี
แบบ Offline เป็นแบบมาตราฐานทั่วไปในการใช้งาน คือ ผู้รับจะดาวน์โหลดอีเมล์ทั้งหมดจากเมล์เซิร์ฟเวอร์ และลบอีเมล์ที่ไม่ต้องการออกไป ทำให้ผู้ใช้อ่านอีเมล์ได้ตลอดเวลา
แบบ Online เป็นการติดต่อกันตลอเวลาที่ใช้รับส่งอีเมล์
POP3 คือโปรโตคอลที่ทำหน้าที่โหลดอีเมล์ POP3 เป็รตัวแรกที่ถูกออกแบบมาเพื่อรับส่งอีเมล์ และPOP3จะทำงานร่วมกับโปรโตคอล TCP
SMTP เป็นโปรโตคอลที่คู่กับ POP3 SMTP จะทำการเตรียมคำสั่งๆ อื่นๆไว้เพื่อความสะดวก และคล่องตัวในการทำงาน ในการส่งอีเมล์ของโปรโตคอลของ SMTP จะใช้วิธีการอ้างถึงเซิร์ฟเวอร์อื่นๆ ตามแบบ DNS
IMAP4 เป็นโปรโตคอลตัวหนึ่งที่ใช้ในการส่งอีเมล์ วึ่งมีประสิทธิภาพ และ การใช้งานที่หลากหลาย แบบกว่า POP IMAP ถูกพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยStanford IMAP มีหลายเวอร์ชั่น ปัจจุบันมีถึง 4 เวอร์ชั่น
IMAP จะแบ่งออกเป็นสถานะต่าง ๆ 4สถานะ ดังนี้
  • สถานะก่อนอนุมัติ
  • สถานะได้รับอนุมัติ
  • สถานะเลือกเมล์บล็อก
  • สถานะเลิกใช้งาน
    บทที่8
โปรโตคอลที่ใช้ในการโอนถ่ายไฟล์ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ FTP (File Transfer Protocol) และ TFTP (Trivial File Transfer Protocol)
FTP (File Transfer Protocol) เป็นเครื่องที่ใช้ในการโอนไฟล์ ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมที่สุด โดยกำเนิดมาจากเป็นคำสั่งพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ FTP จะเป็นการทำงานในแบบของไคลเอนต์เซิร์เวอร์โดยพัฒนขึ้นตามโปรโตคอลพื้นฐาน ซึ่งจะมีการติดต่อเพื่อจองช่องสื่อสาร ก่อนทำงานสื่อสารจิง
TFTP (Trivial File Transfer Protocol) เป็นกระบวนการรับส่งไฟล์ที่เรียบง่ายกว่า FTP ทั่วไป โดยใช้การสื่อสานแบบ UDP(User Datafram Protocol)ซึ่งเป็นโปรโตคอลทำงานแบบ Connectionless ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใส่รหัส หรือ Password ในTFTPได้รับพัฒนาให้มีประสิทธิภาพต่อมา ให้ผู้รับผู้ส่งสามารถำกหนดของล็อคได้ตั้งแต่ 8 ถึง 64 ไบต์ และการทำงานของTFTP นั้นไม่ยุ่งยาก ใช้เนื้อที่ในหน่อยความจำน้อย

วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เปรียบเทียบขั้นตอนรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของ OSI 7-Layer Model และ TCP/IP Stack

OSI Model มีทั้งหมด 7 Layer ดังนี้
1.Physical Layer กำหนดคุณสมบัติของการเชื่อมต่อรับและส่งข้อมูลทาง Hardware ความเร็ว-การเชื่อมต่อกับสาย
2.Transport Layer เชื่อมต่อรับส่งข้อมูลจากปลายด้านหนึ่งกับปลายทาง รวมทั้งควบคุมข้อผิดพลาด
3.Application Layer เชื่อมต่อกับผู้ใช้ และแปลคำสั่งต่างๆให้กับคอมพิวเตอร์
4.Session Layer ควบคุมจังหวะการรับส่งข้อมูลของคอมพิวเตอร์ทั้งสองด้านให้โต้ตอบ
5.Data Link Layer ควบคุมการรับส่งข้อมูลในระดับ Hardware และตรวจสอบข้อผิดพลาดในการรับส่งข้อมูล
6.Network Layer ติดต่อและกำหนดเส้นทางในการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย และตรวจสอบ Address ของผู้รับ
7.Presentation Layer แปลงคำสั่งตามกฎที่ได้รับออกเป็นขั้นตอนย่อยๆแต่ละขั้นตอน

TCP/IP Stack มีทั้งหมด 4 Layer
1. Network Interface คือชั้นที่ควบคุม Hardware การรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย ซึ่งเทียบได้กับชั้นที่ 1 และ 2 ของ OSI
2. Internetwork Layer ได้แก่ส่วนของโปรโตคอล IP ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 3 ของ OSIทำหน้าที่เลือกเส้นทางการรับส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์เครือข่ายต่าง ๆ จนไปถึงผู้รับข้อมูล ในชั้นนี้จะจัดการกับกลุ่มข้อมูลในลักษณะที่เรียกว่า frame ในรูปแบบของ TCP/IP ที่เรารู้จักกันนั่นเอง
3. Process Layer จะเป็น Application protocol ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้และให้บริการต่าง ๆ เช่น FTP, Telnet, SNMP
4. Host-to-Host Layer จะเป็น TCP หรือ UDP ที่ทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 4 ของ OSI คือเป็นควบคุมการรับส่งข้อมูลจากปลายด้านส่งถึงปลายด้านรับข้อมูล และตัดข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยให้เหมาะกับเครือข่ายที่ใช้รับส่งข้อมูล

สรุปเนื้อหาบทที่ 2-3

สรุปบทที่2

โปรโตคอลและ IP Addressโปรโตคอล คือ ระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสารข้อมูล โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง Connectionless คือมีการส่งข้อมุลที่เร็ว แต่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น จดหมาย อีเมลล์Connection-oriented คือมีการส่งข้อมูลที่ช้า แต่มีความน่าเชื่อถือมากกว่า เช่น โทรศัพท์ Fax
IP Address คือ หมายเลขอ้างอิงประจำตัวของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้IP Address โดยการกำหนด IP Address ให้แต่ละเครื่องหรืออุปกรณ์นี้จะต้องไม่ซ้ำกัน ซึ่ง IP Addressนี้จะไม่ผูกติดกับตัวฮาร์ดแวร์แต่อย่างใดจึงสามารถกำหนดใหม่หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ เช่น รหัสนักศึกษารหัสบัตรต่างๆ MAC Address คือ หมายเลขที่ถูกกำหนดมาจากบริษัท ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขได้IPv6 คือ มีขนาด 128 บิต ตัวโปรโตคอล IP ได้มีการปรับปรุงส่วน header ให้สนับสนุนการประมวลผลจาก Router ได้เร็วขึ้น ลักษณะการทำงานมี 3 แบบคือ unicast, multicast และ anycast

สรุปเนื้อหาบทที่ 3

โครงสร้างของ โปรโตคอล TCP/IP
1. Process layer หรือ Application Layer มีโปรโตคอลหลัก ๆ ที่ทำงานใน process layer ซึ่งผู้ใช้มักจะคุ้นเคยกันดีได้แก่
2. Host-to-Host layer หรือ Transport Layer มีโปรโตคอลหลัก ๆ คือ TCP กับ UDPTCP คือ โปรโตคอลที่มีการรับส่งข้อมูลแบบ stream oriented protocol
3. Internetwork layer มีหน้าที่ส่งผ่านข้อมูลในระหว่างเครือข่าย คือ โปรโตคอล IP (Internet Protocol) นอกจากนี้ยังมีโปรโตคอลที่ทำงานอีก 2 ชนิด คือ โปรโตคอล Internet Control Message Protocol (ICMP) และโปรโตคอล Address Resolution Protocol (ARP)
4.Network Interface layer จะเป็นการแปลงข้อมูล IP datagram ให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม และแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังเครือข่ายต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2550

โปรโตคอล อื่นๆนอกเหนือจากTCP/IP 3 ชนิด



1.ICMP (Internet Control Message Protocol)
ICMP เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการตรวจสอบและรายงานสถานภาพของดาต้าแกรม (Datagram) ในกรณีที่เกิดปัญหากับดาต้าแกรม เช่น เราเตอร์ไม่สามารถส่งดาต้าแกรมไปถึงปลายทางได้ ICMP จะถูกส่งออกไปยังโฮสต้นทางเพื่อรายงานข้อผิดพลาด ที่เกิดขึ้น

2. Dynamic Host Configuration Protocol (DHCP)
เป็นโปรโตคอลที่ให้ผู้บริหารเครือข่ายจัดการส่วนกลางและกำหนด Internet Protocol address โดยอัตโนมัติในเครือข่าย การใช้กลุ่มอินเตอร์เน็ตของโปรโตคอล (TCP/IP) แต่ละเครื่องสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตโดยต้องการ IP address แบบไม่ซ้ำ เมื่อมีการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ผู้ใช้เชื่อมเข้ากับอินเตอร์เน็ต จะต้องกำหนด IP address ให้แต่ละเครื่อง ถ้าไม่ใช้ DHCP การกำหนด IP address ต้องป้อนเข้าเอง รวมถึงเมื่อมีการย้ายตำแหน่งไปยังส่วนอื่นของเครือข่ายก็จะต้องป้อน IP address ใหม่

3. Simple Mail Transfer Protocol (SMTP)
เป็นโปรโตคอลใช้ในการส่งและรับ E-mail แต่ SMTP มีความจำกัดในด้านแถวคอย (Queue) ของ message ในด้านรับ ตามปกติจะใช้ร่วมกับโปรโตคอลอื่นอีกตัว เช่น POP3 หรือ Internet Message Access Protocol เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเก็บเมล์ไว้ใน server mailbox และ ดาวน์โหลดจาก server ในอีกความหมาย คือ SMTP ใช้สำหรับการส่งเมล์ของผู้ใช้ และ POP หรือ IMAP


แหล่างที่มา:http://support.mof.go.th/smtp.htm




อุปกรณ์ที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์



คอนเวอร์เตอร์ (Converter)
คอนเวอร์เตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนกลุ่มของข่าวสารซึ่งกำหนดขึ้นด้วยโปรโตคอลแบบหนึ่งไปเป็นกลุ่มของข่าวสารซึ่งใช้โปรโตคอลอีกแบบหนึ่ง และทำหน้าที่มัลติเพล็กซ์สัญญาณด้วย นอกจากนี้ ยังสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการส่งข้อมูลระหว่างข้อมูลแบบอะซิงโครนัสและแบบซิงโครนัส เช่นอุปกรณ์ ตู้สลับสายดิจิตอล PABX

เกตเวย์ (Gateway)
เกตเวย์เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูล หน้าที่หลักของเกตเวย์คือช่วยทำให้เครือข่าย
คอมพิวเตอร์ 2 เครือข่ายหรือมากกว่า ที่มีลักษณะไม่เหมือนกัน คือลักษณะของการเชื่อมต่อ ( Connectivity ) ของเครือข่ายที่แตกต่างกัน และมีโปรโตคอลสำหรับการส่ง - รับ ข้อมูลต่างกัน





มัลติเพล็กซ์เซอร์ (Multiplexer)
จะรับสัญญาณข้อมูลจากผู้ส่งข้อมูลจากแหล่งต้นทางไปยังปลายทางในที่ๆต้องการสื่อสารข้อมูลสัญญาณข้อมูลเมื่อผ่านมัลติเพล็กซ์เซอร์จะเรียงรวม ( Multiplex ) อยู่ในสายข้อมูลเพียงสายเดียวและเมื่อสัญญาณข้อมูลทั้งหมดมาถึงเครื่องมัลติเพล็กซ์เซอร์ปลายทาง ซึ่งเรียกว่าอุปกรณ์ดีมัลติเพล็กซ์เซอร์ สัญญาณก็จะถูกแยก (ดีมัลติเพล็กซ์)ออกจากกันไปตามเครื่องรับปลายทางของแต่ละช่องทางสายส่งข้อมูลที่ใช้ในการส่งข้อมูลต้องมีความจุสูงจึงจะสามารถรองรับปริมาณ ข้อมูลจำนวนมากที่ส่งผ่านมาพร้อม ๆ กันได้ สายส่งข้อมูลดังกล่าวได้แก่ สายโคแอกเชียล สายไฟเบอร์ออฟติก คลื่นไมโครเวฟ และคลื่นดาวเทียม


รีพีตเตอร์ (Repeater)
รีพีตเตอร์หรือเครื่องทวนสัญญาณข้อมูลคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันการขาดหายของสัญญาณในกรณีที่ส่งผ่านข้อมูลระยะทางไกล ๆ รีพิตเตอร์จะทำงานอยู่ในเลเยอร์ชั้น Physical ของรูปแบบ OSI
การทำงานของรีพิตเตอร์นั้นทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างเซ็กเมนต์ของสายสัญญาณเข้าจังหวะ และ
สร้างสัญญาณดิจิตอลบนสายสัญญาณขึ้นใหม่ให้เหมือนเดิม แล้วส่งออก ไปที่ปลายอีกด้านหนึ่ง แต่ไม่มีความ สามารถในการแยกเยอะจราจรของข้อมูล เพียงแต่ส่งทุกบิต ในสายสัญญาณออกไปอีกฝั่งหนึ่งแม้ว่าจะเป็นแพ็คเก็จที่ผิดพลาดรีพีตเตอร์




เราเตอร์ (Router)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงแต่ละเครือข่ายเข้าด้วยกันตามมาตราฐานISO ที่เรียกว่า IWU ทำงานอยู่ในระดับเลเยอร์ชั้นที่ 3 คือชั้นNetwork ลักษณะการทำงานคือจะปรับปรุงการทำงานของบริดจ์ เราเตอร์จะอ่านข้อมูลแอดเดรส ของเครือข่ายที่ซับซ้อนกว่าในแพ็คเกจโทเคน อาจเพิ่มเติมข้อมูลมากขึ้น เพื่อให้ปลายทางได้รับแพ็คเกจผ่านเครือข่าย เราเตอร์สามารถเลือกเส้นทางที่ไม่ซ้ำซ้อน เราเตอร์ต่างจากบริดจ์คือจะไม่รู้ตำแหน่งที่แท้จริงของโหนด รู้แต่เพียงแอดเดรสของเครือข่ายย่อย


วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ผลกระทบของการใช้อินเตอร์เน็ตกับธุรกิจ

1. ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
2. ความสัมพันธืระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายลดลง เนื่องจากติดต่อผ่านทางอินเตอร์เน็ต
3. ในตลาดธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น เช่นการเพิ่มขึ้นของคู่แข่ง และ ช่วงอายุที่สั้นของสินค้า
4. มีการสื่อสารที่ทันสมัยมากขึ้น กระบวนการสื่อสารดังกล่าวสร้างสิ่งแวดล้อมทางสังคมขึ้นมาใหม่ เช่นสำนักงานอัตโนมัติ
5. ทำให้วิถีชีวิตคนเปลี่ยนไปจากเรียบง่าย กลายเป็นเร่งรีบ

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ข้อเสียของอินเตอร์เน็ต

1.อยากต่อการควบคุม
2.ใช้โปรแกรมในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น ไวรัส การโจมตี
3.ทำให้เด็กติดเกมส์และเสียเวลาเรียน
4.มีภาพที่ไม่เหมาะสม(ทำให้เด็กควบคุมอารมณ์ไม่ได้และเกิดปัญหาต่อสังคม)
5.เราไม่สามารถเห็นหน้าของคนบนโลกอินเตอร์เน็ต จึงเกิดการเสแสร้งขึ้น
6.ความกว่างขวางทำให้สามารถแชร์ไฟล์ได้ ทั้งดีและไม่ดี
7.ความรวดเร็วของการสื่อสาร เพราะบางคนใช้ข้อนี้ ในการทำเรื่องไม่ดี เช่นการส่งภาพไม่ดีของบุคคลนั้นๆให้เสื่อมเสีย
8.เป็นแหล่งมั่วสุมของคนไม่ดี ในบางเว็บไซต์
9.เกิดการล่อลวงทางอินเตอร์เน็ต
10.ไม่มีการกรองเว็บไซต์ เช่น อายุของผู้เข้าเยี่ยมเว็บไซต์นั้นๆ