วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551

สรุปบทที่ 6-7-8

บทที่6

Domain Name System
เป็นกลไกที่ทำให้สามารถใช้แอดเดรสที่เป็นชื่อในการอ้างอิงถึงคอมพิวเตอร์หรือติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องใช้แอดเดรสที่เป็นตัวเลข โครงสร้างชื่อของ Domain Name System เป็นระบบแบบลำดับชั้น (hierachical structure) กล่าวคือระบบนี้ทำการแบ่งคอมพิวเตอร์ออกเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มเรียกว่าโดเมน(Domain) ในแต่ละโดเมนก็แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้หรือที่เรียกว่า sub domain และในแต่ละกลุ่มย่อยก็สามารถแบ่งต่อออกไปเป็นกลุ่มย่อยได้อีกจนกว่าจะพอใจ
ระบบการตั้งชื่อโดเมน (Domain Name System: DNS) เป็นระบบที่ใช้เก็บข้อมูลของชื่อโดเมน (โดเมนเนม) ซึ่งใช้ในเครือข่ายขนาดใหญ่อย่างอินเทอร์เน็ต โดยข้อมูลที่เก็บมีหลายอย่าง แต่สิ่งสำคัญคือความสัมพันธ์ระหว่างชื่อโดเมนนั้นๆ กับหมายเลขไอพีที่ใช้งานอยู่ ประโยชน์ที่สำคัญของ DNS คือช่วยแปลงหมายเลขไอพีซึ่งเป็นชุดตัวเลขที่จดจำได้ยาก (เช่น 207.142.131.206) มาเป็นชื่อที่สามารถจดจำได้ง่ายแทน (เช่น wikipedia.org)

Dynamic Host Configuration Protocol (DHCP) หรือ (DHCPv6) เป็นโปรโตคอล
ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบแม่ข่าย-ลูกข่าย โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายจะทำการร้องขอข้อมูลที่จำเป็น ในการเข้าร่วมเครือข่ายจากแม่ข่าย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้รวมถึงหมายเลขไอพีที่ใช้ภายในเครือข่าย ซึ่งคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเป็นฝ่ายกำหนดให้กับลูกข่าย

LDAP เป็น Protocol ที่พัฒนามาจาก Protocol X.500 ซึ่งใช้ในการเข้าถึงและ Update ข้อมูลของ Directory ซึ่งDirectory ในทาง Computer ที่จริงก็อาจเรียกได้ว่าเป็น Database แบบพิเศษหรือ Data repositoryLDAP ก็คือหนึ่งในมาตรฐานที่ใช้จัดการ การรับส่งข้อมูลระหว่าง Application Server ที่เก็บ Directory เหล่านี้ กับ Client Application ที่เป็นฝ่ายเรียกดูข้อมูลจาก Directory โครงสร้างของ LDAP ประกอบด้วย Server และ Client ซึ่งในที่นี้เราเลือกใช้ Product ของ
OpenLDAP ซึ่งเป็น LDAP Implementation แบบ Open Source ที่ได้รับความนิยมสูง โดยในชุดที่แจกจ่ายให้ Download
LDAP ได้รับการออกแบบมาให้อยู่บน TCP/IP Layer ที่มีเพียง 4 Layer ทำให้มีความต้องการ Resource น้อยกว่า DAP ของมาตรฐาน X.500




บทที่7
อีเมล์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เริ่มใช้งานกันมานานแล้ว โดยไอบีเอ็มได้พัฒนาระบบอีเมล์ที่เรียกว่า PROFS ออกมาใช้งาน การทำงานของอีเมล์มีเพียง 2 ประเภท คือ การส่งอีเมล์ และการับอีเมล์ โดยใช้โปรโตคอล SMTP และ Simple Mail Transfer Protocol จะใช้อยู่ขณะที่ User agent ส่งอีเมล์มา
การรับส่งอีเมล์ทำได้ 3 วิธี
แบบ Offline เป็นแบบมาตราฐานทั่วไปในการใช้งาน คือ ผู้รับจะดาวน์โหลดอีเมล์ทั้งหมดจากเมล์เซิร์ฟเวอร์ และลบอีเมล์ที่ไม่ต้องการออกไป ทำให้ผู้ใช้อ่านอีเมล์ได้ตลอดเวลา
แบบ Online เป็นการติดต่อกันตลอเวลาที่ใช้รับส่งอีเมล์
POP3 คือโปรโตคอลที่ทำหน้าที่โหลดอีเมล์ POP3 เป็รตัวแรกที่ถูกออกแบบมาเพื่อรับส่งอีเมล์ และPOP3จะทำงานร่วมกับโปรโตคอล TCP
SMTP เป็นโปรโตคอลที่คู่กับ POP3 SMTP จะทำการเตรียมคำสั่งๆ อื่นๆไว้เพื่อความสะดวก และคล่องตัวในการทำงาน ในการส่งอีเมล์ของโปรโตคอลของ SMTP จะใช้วิธีการอ้างถึงเซิร์ฟเวอร์อื่นๆ ตามแบบ DNS
IMAP4 เป็นโปรโตคอลตัวหนึ่งที่ใช้ในการส่งอีเมล์ วึ่งมีประสิทธิภาพ และ การใช้งานที่หลากหลาย แบบกว่า POP IMAP ถูกพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยStanford IMAP มีหลายเวอร์ชั่น ปัจจุบันมีถึง 4 เวอร์ชั่น
IMAP จะแบ่งออกเป็นสถานะต่าง ๆ 4สถานะ ดังนี้
  • สถานะก่อนอนุมัติ
  • สถานะได้รับอนุมัติ
  • สถานะเลือกเมล์บล็อก
  • สถานะเลิกใช้งาน
    บทที่8
โปรโตคอลที่ใช้ในการโอนถ่ายไฟล์ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ FTP (File Transfer Protocol) และ TFTP (Trivial File Transfer Protocol)
FTP (File Transfer Protocol) เป็นเครื่องที่ใช้ในการโอนไฟล์ ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมที่สุด โดยกำเนิดมาจากเป็นคำสั่งพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ FTP จะเป็นการทำงานในแบบของไคลเอนต์เซิร์เวอร์โดยพัฒนขึ้นตามโปรโตคอลพื้นฐาน ซึ่งจะมีการติดต่อเพื่อจองช่องสื่อสาร ก่อนทำงานสื่อสารจิง
TFTP (Trivial File Transfer Protocol) เป็นกระบวนการรับส่งไฟล์ที่เรียบง่ายกว่า FTP ทั่วไป โดยใช้การสื่อสานแบบ UDP(User Datafram Protocol)ซึ่งเป็นโปรโตคอลทำงานแบบ Connectionless ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใส่รหัส หรือ Password ในTFTPได้รับพัฒนาให้มีประสิทธิภาพต่อมา ให้ผู้รับผู้ส่งสามารถำกหนดของล็อคได้ตั้งแต่ 8 ถึง 64 ไบต์ และการทำงานของTFTP นั้นไม่ยุ่งยาก ใช้เนื้อที่ในหน่อยความจำน้อย